สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน 24 ชั่วโมง

สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน 24 ชั่วโมง

Tuesday, April 21, 2015

ทำไมเศรษฐีไทย ถึงนิยมซื้อทีมฟุตบอลในยุโรป? ฟอกเงิน? นอมินี?



นักธุรกิจและมหาเศรษฐีของไทย เป็นเจ้าของทีมฟุตบอลในยุโรปอีกครั้ง โดยเตรียมเข้าซื้อทีมเอซี มิลาน ถึง 1,200 ล้านยูโร หรือราว 48,000 ล้านบาท และเป็นกลุ่มที่ 5 ของไทยที่เข้าซื้อทีมฟุตบอลยุโรป
    
นายบี เตชะอุบล นักธุรกิจชาวไทย ทายาทเจ้าของเครือคันทรี กรุ๊ป เตรียมเดินทางไปซื้อหุ้นสโมสร "ปิศาจแดงดำ - เอซี มิลาน"  ในวันที่ 26 เมษายนนี้ ด้วยเงิน 1,200 ล้านยูโร หรือ 48,000 ล้านบาท โดยได้ทำข้อตกลงกับ ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี่ ประธานใหญ่แล้ว และจะเริ่มถือหุ้น 20% ก่อนเพิ่มเป็น 65 % ภายใน 12 เดือน
โดยเอซี มิลาน เป็นทีมฟุตบอลของอิตาลี ที่ก่อตั้งมาแล้ว 115 ปี และเคยคว้าแชมป์กัลโช่ ซีเรียอามาได้ 18 สมัย และแชมป์ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีกถึง 7 สมัย และเป็นการปิดฉากการกุมอำนาจของนายแบร์ลุสโคนี่ถึง 29 ปี
        
การเข้าซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลยุโรปของนักธุรกิจไทย เริ่มต้นจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าซื้อหุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ กว่า 5,700 ล้านบาท ในปี 2550 และสร้างกระแสของสโมสรนี้ในไทย ก่อนขายให้กับอาบูดาบี ดีเวลอปเม้นท์ 9,000 ล้านบาท 
ตามด้วยปี 2553 กลุ่มคิง เพาเวอร์ ของนายวิชัย ศรีวัฒนประภา ซื้อสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ 35 ล้านปอนด์ และทำให้ทีมคว้าแชมป์เดอะ แชมเปี้ยนชิพและเลื่อนชั้นมาสู่ลีกสูงสุดหลังบริหารทีมไม่ถึง 5 ปี
ส่วนปี 2557 นายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา ประธานสโมสรเพื่อนตำรวจ และคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ใช้เงิน 35 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 2 พันล้านบาท ซื้อหุ้นสโมสรเดอะรอยัลส์ เรดดิง แห่งเดอะ แชมเปี้ยนส์ ชิพ ของอังกฤษ 
และในปีเดียวกัน  นายเดชพล จันศิริ น้องชายของนายธีรพงศ์  จันศิริ ผู้บริหารบริษัท ไทย ยูเนี่ยน โฟรเซ่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TUF เข้าซื้อหุ้นสโมสรเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ แห่งเดอะ แชมเปี้ยนส์ ชิพ ของอังกฤษ ด้วยเงิน 30 ล้านปอนด์ หรือ 1,480 ล้านบาท และตามมาด้วยนายบี เตชะอุบล 
การที่นักธุรกิจไทย นิยมซื้อสโมสรฟุตบอล เพราะกีฬาฟุตบอลในต่างประเทศ เป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก ทำให้มีรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขัน จากสปอนเซอร์ ขายตั๋วเข้าชม สินค้าที่ระลึก และจากนักฟุตบอล ที่มีแฟนคลับติดตามทั่วโลก รวมทั้งการได้กำไร หากมีการขายหุ้นหรือกิจการต่อ รวมทั้งชื่อเสียง  การประชาสัมพันธ์แบรนด์สินค้า  และอำนาจบารมีต่างๆที่ตามมา  (เครดิต VoiceTV)

No comments:

Post a Comment